หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ E-Book ทางสาขาวิชารัฐศาสตร์ การเมือง การปกครอง สำหรับครูอาจารย์ นักเรียนนักศึกษาและผู้สนใจทั่วไป

Saturday, September 10, 2022

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ E-Book เอกสารประกอบการสอน วิชาการเมืองและนโยบายในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ Politics and Policies in Southeast Asia

 


หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ E-Book       เอกสารประกอบการสอน วิชาการเมืองและนโยบายในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ Politics and Policies in Southeast Asia

(38 ๔๔๓๐๖ การเมืองและนโยบายในเอเชียตะวันออกเฉียง ใต้ เป็นรายวิชาในหลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการ ปกครอง ของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย มีขอบข่ายใน การศึกษากำหนดให้ความสัมพันธ์ระหว่างการเมืองกับนโยบาย ต่างๆของประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ผู้เขียนได้แจกแจงหัวข้อในการสอนกระบวนวิชา การเมืองและ นโยบายในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประกอบด้วย 1) แนวความคิดเรี่องการเมือง 2) แนวความคิดเรี่องนโยบาย 3) ความสัมพันธ์ของระบบการเองและนโยบายสาธารณะ 4) ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 5) การเมืองและนโยบายของ ประเทศบรูไนดารุสซาลาม 6) การเมืองและนโยบายของประเทศ ไทย 7) การเมืองและนโยบายของประเทศมาเลเซีย 8) การเมือง และนโยบายของประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว 9) การเมืองและนโยบายของประเทศสาธารณรัฐสิงคโปร์ 1 0) การเมืองและนโยบายของประเทศสาธารณรัฐอินโดนีเซีย 1 1) การเมืองและนโยบายของประเทศสหภาพพม่า 12)การเมืองและ นโยบายของประเทศสาธารณรัฐฟิลิปปินส์13) การเมืองและ นโยบายของประเทศสาธารณรัฐเวียดนาม และ 14) การเมืองและ นโยบายของประเทศราชอาณาจักรกัมพูชา

=================

ผู้สนใจดูรายละเอียดและสั่งซื้อได้ที่ลิงก์นี้

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ E-Book เอกสารประกอบการสอน วิชาขอบเขตและวิธีการศึกษาทางรัฐศาสตร์ The Scope and Methods in Studies of Political Science

 


หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ E-Book เอกสารประกอบการสอน วิชาขอบเขตและวิธีการศึกษาทางรัฐศาสตร์ The Scope and Methods in Studies of Political Science

GS ๔๔๓๐๔ ขอบเขตและวิธีการศึกษาวิชารัฐศาสตร์ (Scope and Approaches in Political Science) เป็นวิชาในหลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการปกครอง ของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ในสังเขปรายวิชากำหนดไว้ว่า ให้ศึกษา “ขอบเขต ลักษณะ พัฒนาการ แนวคิดวิเคราะห์ปัญหา และทฤษฎีสำคัญทางรัฐศาสตร์ เพื่อเป็นการปูพื้นฐานให้เข้าใจสื่อความคิด (Concepts) ที่สำคัญๆและประเด็นปัญหาต่างๆที่อาจหยิบยกมาศึกษาค้นคว้าทางรัฐศาสตร์

ผู้สอนได้จัดทำเอกสารประกอบการเรียนการสอนของกระบวนวิชา ขอบเขตและวิธีการศึกษาวิชารัฐศาสตร์  นี้ โดยครอบคลุมในเรื่องต่อไปนี้ คือ 1) ความหมาย และขอบเขตของรัฐศาสตร์ 2) พัฒนาการและทิศทางในการศึกษาด้านรัฐศาสตร์  3) ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐศาสตร์กับศาสตร์อื่นๆ  4) การศึกษารัฐศาสตร์แนวปรัชญาการเมืองและความคิดทางการเมือง  5) การศึกษารัฐศาสตร์ตามแนวทางสถาบัน  6) การศึกษารัฐศาสตร์ตามแนวจิตวิทยาทางการเมือง  7) การศึกษารัฐศาสตร์แนวกลุ่ม 8)  การศึกษาการเมืองตามแนวทางการตัดสินใจ 9) การศึกษารัฐศาสตร์แนวทางเศรษฐศาสตร์การเมือง 10)  การศึกษารัฐศาสตร์แนวทางนโยบายสาธารณะ 11) การศึกษารัฐศาสตร์แนวทางอำนาจ และ 12) การศึกษารัฐศาสตร์แนวทางการสื่อสาร

=======================

สนใจดูรายละเอียดและสั่งซื้อได้ที่ลิงก์นี้


หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ E-Book เอกสารประกอบการสอนวิชาภาษาอังกฤษสำหรับรัฐศาสตร์ English for Political Science

 


หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ E-Book     เอกสารประกอบการสอนวิชาภาษาอังกฤษสำหรับรัฐศาสตร์ English for Political Science

SO 2121 ภาษาอังกฤษสำหรับรัฐศาสตร์  (English for Political Science) เป็นวิชาหนึ่งในหลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการปกครอง ของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2559)  และวิชาภาษาอังกฤษเป็นหนี่งในวิชาที่ถูกตั้งข้อสังเกตว่าเป็นปัญหาของนักศึกษาแรกเข้า กล่าวคือ “นักศึกษาขาดทักษะทางด้านภาษาอังกฤษ”

ผู้สอนเห็นเป็นการสมควรที่จะได้จัดทำตำราเพื่อใช้สอนวิชานี้โดยให้มีเนื้อหาครอบคลุมตามที่ระบุในคำบรรยายรายวิชาว่า “ศึกษาให้เข้าใจโครงสร้างศัพท์และสำนวนภาษาอังกฤษที่ใช้กันมากในสาขาวิชาการปกครองตลอดจนฝึกหัดการใช้ศัพท์และสำนวนเหล่านั้นในการเขียนและการพูด ฝึกฝนแนวทางในการอ่านและเขียนข้อความที่เน้นเนื้อหาทางรัฐศาสตร์ เช่น การอ่านตำรา บทความ วารสาร”

ในแต่ละบทที่ผู้เขียนนำมาเขียนไว้นี้ ได้กำหนดให้นักศึกษาได้เรียนรู้ศัพท์รัฐศาสตร์ตามหมวดต่างๆ ในแต่ละสัปดาห์ ๆ ละ 5 ศัพท์ คือ1) หมวดการจัดองค์การทางการเมือง (Patterns of Political Organization) 2)หมวดธรรมชาติและบทบาทของนโยบายต่างประเทศ (The Nature and Role of Foreign Policy) 3) หมวดอุดมการณ์และการสื่อสาร (Ideology and Communication) และ 4)  หมวดการทูต (Diplomacy)

มีการจัดโครงสร้างของหนังสือ ภาษาอังกฤษสำหรับนักรัฐศาสตร์  เพื่อให้เกิดผลสำเร็จในการเรียนรู้ไว้ดังนี้ คือ  ข้อ 1.  และ ข้อ 2. ให้นักศึกษากระตุ้นสมองด้านที่ใช้รับรู้ภาษาด้วยการเขียนอักษรภาษาอังกฤษคนละ 3 เที่ยว  ข้อที่ 3. เป็นการเรียนรู้แต่ละศัพท์โดยมีหัวศัพท์ คำภาษาอังกฤษ  คำแปลภาษาไทย  คำฝึกหัดอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษ และหัดแปลภาษาอังกฤษเป็นไทย  ข้อ 4. เป็นการสรุปเนื้อหาของทั้ง 5 ศัพท์ที่เรียนของแต่ละสัปดาห์  ข้อ 5. เป็นแบบฝึกหัดท้ายบทเรียน ซึ่งเป็นบทความภาษาอังกฤษทางด้านรัฐศาสตร์ที่มีความยาวในระดับปานกลางเพื่อใช้เป็นงานมอบสำหรับนักศึกษาได้ใช้ฝึกฝนอ่านเพื่อทบทวนและซึมซับศัพท์ต่างๆที่นักศึกษาได้เรียนรู้ในสัปดาห์นั้นๆ สำหรับคำแปลของบทความของแต่ละบทได้นำไปรวมไว้ในภาคผนวกของหนังสือเล่มนี้  และ ข้อ 6. เป็นบรรณานุกรมท้ายบทเรียนที่ใช้ในการเขียนหนังสือเล่มนี้

สำหรับข้อมูลที่นำมาใช้เขียนตำราเล่มนี้ ส่วนที่เป็นภาษาอังกฤษส่วนใหญ่ได้จาก หนังสือ The International Relations Dictionary (Fourth Edition) ของ  Jack C. Plano และ Roy Olton ส่วนที่เป็นภาษาไทย ได้ใช้หนังสือหลัก 2 เล่ม คือ 1) ศัพท์รัฐศาสตร์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ของ ราชบัณฑิตยสถาน  และ 2) พจนานุกรมศัพท์ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ   (อังกฤษ-ไทย)  ของ    นาวาเอก   รองศาสตราจารย์ ทองใบ ธีรานันทางกูร สำหรับหนังสือเล่มอื่นๆตามที่ปรากฏอยู่ในบรรณานุกรมท้ายบทของแต่ละบท ผู้เขียนก็ได้ใช้เพื่อทวนสอบความถูกต้องของศัพท์และเนื้อหา

=========================

สนใจดูรายละเอียดและสั่งซื้อได้ที่ลิงก์นี้

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ E-Book เอกสารประกอบการสอนวิชารัฐธรรมนูญและสถาบันทางการเมืองของไทย Thai Constitution and Political Institutions

 


หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ E-Book     เอกสารประกอบการสอนวิชารัฐธรรมนูญและสถาบันทางการเมืองของไทย Thai Constitution and  Political Institutions


GS ๔๑๑๐๕       รัฐธรรมนูญและสถาบันทางการเมืองของไทย (Thai Constitutions and Political Institutions) เป็นรายวิชาในหลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการปกครอง ของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย มีขอบข่ายในการศึกษากำหนดให้ “ศึกษาประวัติและวิวัฒนาการของรัฐธรรมนูญ ความหมายและประเภทของรัฐธรรมนูญ ศึกษาปรัชญาของแนวคิดต่างๆ ของระบบรัฐธรรมนูญนิยม (Constitutionalism) แนวคิดเกี่ยวกับสิทธิและเสรีภาพ ตลอดจนหลักประกันในการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ หลักประชาธิปไตย  หลักนิติธรรม (Rule of Law)  หลักการแบ่งแยกอำนาจและถ่วงดุลอำนาจซึ่งกันและกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบการควบคุมกฎหมายมิให้ขัดต่อรัฐธรรมนูญตามหลักความเป็นกฎหมายสูงสุดของรัฐธรรมนูญ รวมทั้งศึกษาโครงสร้างและเนื้อหาของรัฐธรรมนูญไทย  ระบบพรรคการเมืองและระบบการเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญไทย”

ผู้เขียนได้แจกแจงหัวข้อในการสอนกระบวนวิชา รัฐธรรมนูญและสถาบันทางการเมืองของไทย เป็นดังนี้ คือ 1) ความหมายและแนวคิดของรัฐธรรมนูญ, 2) ที่มาหรือแหล่งกำเนิดของรัฐธรรมนูญ, 3) รัฐธรรมนูญกับการกำหนดโครงร่างทางการเมืองการปกครอง, 4) รัฐธรรมนูญกับกระบวนการทางการเมือง, 5) รัฐธรรมนูญกับการพัฒนาการเมือง, 6) ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับพลเมืองในระบบประชาธิปไตย, 7) การรับรองสิทธิพื้นฐานตามรัฐธรรมนูญ, 8) การรับรองความเสมอภาคตามรัฐธรรมนูญ, 9) สิทธิเสรีภาพในทางปฏิบัติ,10) ประวัติและรัฐธรรมนูญไทย, 11) เจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญไทย, 12) รัฐธรรมนูญกับการพัฒนาการเมืองไทย, 13) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560, และ 14) พรรคการเมืองและการเลือกตั้งของไทย

ผู้สอนหวังว่าเอกสารประกอบการเรียนการสอนกระบวนวิชารัฐธรรมนูญและสถาบันทางการเมืองของไทย จะเป็นประโยชน์สำหรับนักศึกษาได้ใช้เป็นแนวทางสำหรับการศึกษาค้นคว้าที่ล้ำลึกและพิสดารมากยิ่งขึ้นไปอีก และผู้สอนขอถือโอกาสนี้กล่าวขอบคุณท่านผู้เขียนตำรับตำราและเอกสารทุกท่านที่ผู้สอนนำมาใช้ในการเรียบเรียงเอกสารประกอบการเรียนการสอนวิชารัฐธรรมนูญและสถาบันทางการเมืองของไทย ตามที่ปรากฏนามในบรรณานุกรมท้ายเล่ม

============================

สนใจดูรายละเอียดและสั่งซื้อได้ที่ลิงก์นี้



หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ E-Book เอกสารประกอบการสอนวิชาความรู้เบื้องต้นทางการบริหารรัฐกิจ Introduction to Public Administration

 


หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ E-Book    เอกสารประกอบการสอนวิชาความรู้เบื้องต้นทางการบริหารรัฐกิจ Introduction to Public Administration

GS ๔๑๕๐๒ วิชาความรู้เบื้องต้นทางการบริหารรัฐกิจ (Introduction to Public Administration) ได้ถูกกำหนดในคำอธิบายรายวิชาว่า “ศึกษาความหมาย ทฤษฎี แนวความคิด และขอบเขตของรัฐวิสาหกิจ รวมทั้งนโยบายของรัฐเกี่ยวกับการบริหาร วิวัฒนาการของการบริหาร การบริหารรัฐกิจและการบริหารธุรกิจ การบรารกับปัจจัยสิ่งแวดล้อม การบริหารกับการพัฒนา การจัดและปรับปรุงองค์การของรัฐ การวางแผน การวินิจฉัยสั่งการ การติดต่อประสานงานและการติดตามผลงาน ภาวะผู้นำ และให้การศึกษาการบริหารราชการของประเทศไทย

ผู้สอนได้บริหารจัดการกระบวนการเรียนการสอนในวิชา ความรู้เบื้องต้นทางการบริหารรัฐกิจ โดยการจัดทำเอกสารประกอบการสอนเพื่อใช้เป็นเอกสารหลักในห้องเรียน ให้มีการเรียนการสอนจำนวน 16 สัปดาห์ ในเอกสารประกอบการสอนประกอบด้วยเนื้อหาของเรื่องและมีคำถามท้ายบทท้ายบทเรียน ผู้สอนขอขอบพระคุณเจ้าของหรือผู้เขียนตำตำราหรือเอกสารที่ผู้เขียนนำมาใช้เรียบเรียงเอกสารประกอบการสอน ดังปรากฏในหน้าบรรณานุกรมข้างท้ายเล่ม

=====================

สนใจดูรายละเอียดและสั่งซื้อได้ที่ลิงก์นี้


Google

Followers