หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ E-Book ทางสาขาวิชารัฐศาสตร์ การเมือง การปกครอง สำหรับครูอาจารย์ นักเรียนนักศึกษาและผู้สนใจทั่วไป

Saturday, September 10, 2022

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ E-Book เอกสารประกอบการสอนวิชาภาษาอังกฤษสำหรับรัฐศาสตร์ English for Political Science

 


หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ E-Book     เอกสารประกอบการสอนวิชาภาษาอังกฤษสำหรับรัฐศาสตร์ English for Political Science

SO 2121 ภาษาอังกฤษสำหรับรัฐศาสตร์  (English for Political Science) เป็นวิชาหนึ่งในหลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการปกครอง ของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2559)  และวิชาภาษาอังกฤษเป็นหนี่งในวิชาที่ถูกตั้งข้อสังเกตว่าเป็นปัญหาของนักศึกษาแรกเข้า กล่าวคือ “นักศึกษาขาดทักษะทางด้านภาษาอังกฤษ”

ผู้สอนเห็นเป็นการสมควรที่จะได้จัดทำตำราเพื่อใช้สอนวิชานี้โดยให้มีเนื้อหาครอบคลุมตามที่ระบุในคำบรรยายรายวิชาว่า “ศึกษาให้เข้าใจโครงสร้างศัพท์และสำนวนภาษาอังกฤษที่ใช้กันมากในสาขาวิชาการปกครองตลอดจนฝึกหัดการใช้ศัพท์และสำนวนเหล่านั้นในการเขียนและการพูด ฝึกฝนแนวทางในการอ่านและเขียนข้อความที่เน้นเนื้อหาทางรัฐศาสตร์ เช่น การอ่านตำรา บทความ วารสาร”

ในแต่ละบทที่ผู้เขียนนำมาเขียนไว้นี้ ได้กำหนดให้นักศึกษาได้เรียนรู้ศัพท์รัฐศาสตร์ตามหมวดต่างๆ ในแต่ละสัปดาห์ ๆ ละ 5 ศัพท์ คือ1) หมวดการจัดองค์การทางการเมือง (Patterns of Political Organization) 2)หมวดธรรมชาติและบทบาทของนโยบายต่างประเทศ (The Nature and Role of Foreign Policy) 3) หมวดอุดมการณ์และการสื่อสาร (Ideology and Communication) และ 4)  หมวดการทูต (Diplomacy)

มีการจัดโครงสร้างของหนังสือ ภาษาอังกฤษสำหรับนักรัฐศาสตร์  เพื่อให้เกิดผลสำเร็จในการเรียนรู้ไว้ดังนี้ คือ  ข้อ 1.  และ ข้อ 2. ให้นักศึกษากระตุ้นสมองด้านที่ใช้รับรู้ภาษาด้วยการเขียนอักษรภาษาอังกฤษคนละ 3 เที่ยว  ข้อที่ 3. เป็นการเรียนรู้แต่ละศัพท์โดยมีหัวศัพท์ คำภาษาอังกฤษ  คำแปลภาษาไทย  คำฝึกหัดอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษ และหัดแปลภาษาอังกฤษเป็นไทย  ข้อ 4. เป็นการสรุปเนื้อหาของทั้ง 5 ศัพท์ที่เรียนของแต่ละสัปดาห์  ข้อ 5. เป็นแบบฝึกหัดท้ายบทเรียน ซึ่งเป็นบทความภาษาอังกฤษทางด้านรัฐศาสตร์ที่มีความยาวในระดับปานกลางเพื่อใช้เป็นงานมอบสำหรับนักศึกษาได้ใช้ฝึกฝนอ่านเพื่อทบทวนและซึมซับศัพท์ต่างๆที่นักศึกษาได้เรียนรู้ในสัปดาห์นั้นๆ สำหรับคำแปลของบทความของแต่ละบทได้นำไปรวมไว้ในภาคผนวกของหนังสือเล่มนี้  และ ข้อ 6. เป็นบรรณานุกรมท้ายบทเรียนที่ใช้ในการเขียนหนังสือเล่มนี้

สำหรับข้อมูลที่นำมาใช้เขียนตำราเล่มนี้ ส่วนที่เป็นภาษาอังกฤษส่วนใหญ่ได้จาก หนังสือ The International Relations Dictionary (Fourth Edition) ของ  Jack C. Plano และ Roy Olton ส่วนที่เป็นภาษาไทย ได้ใช้หนังสือหลัก 2 เล่ม คือ 1) ศัพท์รัฐศาสตร์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ของ ราชบัณฑิตยสถาน  และ 2) พจนานุกรมศัพท์ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ   (อังกฤษ-ไทย)  ของ    นาวาเอก   รองศาสตราจารย์ ทองใบ ธีรานันทางกูร สำหรับหนังสือเล่มอื่นๆตามที่ปรากฏอยู่ในบรรณานุกรมท้ายบทของแต่ละบท ผู้เขียนก็ได้ใช้เพื่อทวนสอบความถูกต้องของศัพท์และเนื้อหา

=========================

สนใจดูรายละเอียดและสั่งซื้อได้ที่ลิงก์นี้

No comments:

Post a Comment

Google

Followers